วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559

สถานที่ท่องเที่ยวที่เคยไป



สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดมหาสารคาม

สวัสดีค่ะ  วันนี้จะมาแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดมหาสารคามกันค่ะ ว่าที่ไหนน่าเที่ยว น่าอยู่กัน  จขก เป็นคนชอบถ่ายเอาวิวหรือบรรยากาศมากกว่าเซลฟี่  ว่าแล้วก็ไปชมกันเล้ย



1. พระพุทธมงคล  วัดพระยืน

           พระพุทธมงคล(วัดบ้านสระ) เป็นพระพุทธรูปทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ เป็นปูชนียะวัตถุที่ควรแก่การเคารพสักการบูชายิ่ง แต่ชาวบ้านทั่วไปนิยมเรียกว่า "หลวงพ่อพระยืน" เป็นพระพุทธรูปที่พึ่งทางใจของชาวพุทธ เป็นที่เคารพบูชาของชาวมหาสารคามและพุทธศาสนิกชนทั่วไป 

           พระพุทธรูปองค์นี้เป็นปางสรงน้ำ มีความสูงตลอดองค์ 4 เมตร กว้าง 1 เมตร สร้างด้วยศิลาแลง เป็นพระพุทธรูปที่นิยมสร้างในสมัยขอมก่อนยุคสุโขทัยพระพักตร์หันไปทางทิศใต้ เป็นพระพุทธรูปที่ท้าวลินทอง เจ้าครองเมืองคันธวิชัยในสมัยจุลศักราช 14(1328) สร้างขึ้นเพื่อทดแทนคุณบิดา(ท้าวลินจง) ถือเป็นปูชนียะวัตถุเก่าแก่ คู่บ้านเมืองตามประวัติที่หาได้จากใบเสมาที่ยังอยู่ใกล้พระยืน ได้รับประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสำคัญของชาติในปี 2478




ที่ตั้ง วัดบ้านสระ ต.คันธารราษฏร์ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
ขอบพระคุณข้อมูลจาก : ข้อมูลมัลติมีเดีย H Travel app ทรูมูฟ เอช





2. อ่างเก็บน้ำโคกก่อ อ.เมือง จ. มหาสารคาม

ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อ จัดตั้งตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2540 ตำบลโคกก่อ เป็นตำบลหนึ่งใน 13 ตำบลของอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคามทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 19 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้ คือ

ทิศเหนือ : ติดกับ ต.หนองโน,ต.หนองปลิง อ.เมืองมหาสารคาม
ทิศใต้ : ติดกับ ต.บัวค้อ อ.เมืองฯ,ต.หนองจิก อ.บรบือ จ.มหาสารคาม
ทิศตะวันออก : ติดกับ ต.หนองปลิง,ต.บัวค้อ อ.เมืองมหาสารคาม
ทิศตะวันตก : ติดกับ ต.หนองโก อ.บรบือ จ.มหาสารคาม



น้องหมาก็มา สงสัยจะร้อน


ลมพัดผ่านตลอดน่าพักผ่อนหย่อนใจมากๆ


เหมือนฝนจะตก



3.อุทยานวังมัจฉาโขงกุดหวาย


อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย อยู่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร อยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดและต้นไม้ หลายชนิด เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป

สถานที่ตั้ง:
อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย อ.เมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม






มีแพะด้วย






4.ทุ่งปอเทือง ข้างสันแก่งเลิงจาน

          ในช่วงฤดูหนาวมักจะมีอากาศหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 20 องศา ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวหนาตาขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงเช้า และช่วงเย็นดอกปอเทืองจะสวยงามเป็นพิเศษเมื่อโดนแสงอ่อนๆ ของดวงพระอาทิตย์สาดส่อง


          สำหรับแก่งเลิงจานเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่คู่เมืองมหาสารคามมาอย่างยาวนาน อดีตประชาชนได้อาศัยอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ในการอุปโภค บริโภค และทำประมงพื้นบ้าน นอกจากนั้นยังเป็นสถานที่พักผ่อนของคนในท้องถิ่น โดยเฉพาะช่วงยามเย็นก่อนพระอาทิตย์จะลับฟ้าบรรยากาศจะดีมาก เนื่องจากแสงพระอาทิตย์จะกระทบผืนน้ำเป็นสีทอง และสีส้ม


          โดย อบจ.มหาสารคามได้มีการอนุมัติงบประมาณเบื้องต้นจำนวน 2 ล้านบาท ดำเนินการบูรณะถนนลาดยางบริเวณสันเขื่อนอ่างเก็บน้ำ และอนุมัติงบ 5 แสนบาทใช้สำหรับจัดสวนไม้ดอกหมุนเวียนตลอดปี พร้อมทั้งพัฒนาเป็นเส้นทางปั่นจักรยาน ในส่วนทุ่งปอเทืองมีพื้นที่ทั้งหมด 70 ไร่ยาวตามสันเขื่อนประมาณ 300 เมตร



ยิ่งในช่วงเช้า และเย็นจะสวยงาม และสีเข้ามากขึ้นเมื่อกระทบแสงอ่อนๆ ของพระอาทิตย์ สร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวชมเป็นอย่างมาก






5.สะพานไม้ วัดป่าเกาะเกิ้ง 

สะพานไม้ที่ดูท่าทาง มั่นคงแข็งแรง ขนาดช้างหนัก 2.5 ตัน ยังข้ามได้สบาย แห่งนี้ ก็คือ สะพานไม้วัดป่าเกาะเกิ้ง ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ทางเข้าวัดป่าเกาะเกิ้ง ที่มีความยาวประมาณยาว 145 เมตร เป็นสะพานไม้ที่สร้างขึ้นมาใหม่เมื่อสามปีก่อน เพื่อให้ชาวบ้าน ที่จะมาทำบุญที่วัดป่าเกาะเกิ้ง สามารถ ข้ามไป มาได้สะดวก เนื่องจากแต่เดิม จะข้ามด้วยเรือซึ่งไม่สะดวกและอันตราย ดังนั้น พระในวัดจึงได้ร่วมกับชาวบ้าน นิสิต นักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วิทยาลัยเทคนิค และมูลนิธิต่างๆ มาร่วมด้วยช่วยกันสร้างสะพานนี้ขึ้น

สำหรับไม้ที่นำมาสร้างเป็นสะพาน นั้น ส่วนใหญ่ ได้มาจากผู้มีจิตศรัทธานำมาบริจาค พระภิกษุสงฆ์ และชาวบ้านช่วยกันสร้างและบูรณะซ่อมแซมจนสวยงามแข็งแรงเพื่อรองรับ ญาติโยมที่จะมาทำบุญและปฏิบัติธรรมที่วัดแห่งนี้ ขณะเดียวกันสะพานไม้แห่งนี้ ก็ได้กลายเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยว หรือบรรดาช่างภาพมืออาชีพ มือสมัครเล่น มาถ่ายภาพ มาเซลฟี กันเป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม








6. สะพานไม้แกดำ

สะพานไม้ ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ทอดจากชายฝั่งหนองแกดำด้านวัดดาวดึงษ์แกดำ ไปยังหมู่บ้านหัวขัว คำว่า ขัว ภาษาอีสาน แปลว่า สะพาน บ้านหัวขัว คือบ้านหัวสะพาน ชื่อหมู่บ้านที่ตั้งมานี้น่าจะเป็นไปได้ว่า สะพานและหมู่บ้านสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กันก็เป็นได้ สอบถามชาวบ้านที่หาปลาอยู่ในหนองแกดำ แกเล่าว่า เกิดมาก็เห็นสะพานอยู่แบบนี้มานานแล้ว คนแก่คนเฒ่าที่รู้จักในหมู่บ้านอายุ 80 กว่าปี ก็บอกว่าเกิดมาก็เห็นสะพานอยู่อย่างนี้แล้วเหมือนกัน แต่ถ้าถามถึงคนผู้สร้างสะพานล้วนล้มหายตายจากไปหมดแล้ว จึงประมาณอายุของสะพานได้น่าจะ 100 ปี สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการไปมาหาสู่กันระหว่างคน 2 ฟากฝั่งหนอง


หนองแกดำ หรือหนองน้ำอื่นๆ ในภาคอีสาน มีสภาพกว้างใหญ่ ลึกบ้างตื้นบ้างเป็นช่วงๆ เป็นแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรที่สำคัญ และเป็นแหล่งในการหาปลาเพื่อเป็นอาหารและนำไปขาย สะพานไม้ที่สร้างขึ้นด้วยวิธีง่ายๆ ปักเสาลงไปในโคลนใต้น้ำจนถึงชั้นดิน ปูด้วยแผ่นไม้ที่พอจะหามาได้ คงจะแข็งแรงมั่นคงได้แค่ชั่วระยะเวลาไม่นาน ตอนนี้ถ้าลองไปเดินบนสะพานจะรู้สึกว่ามันโยกเยกเอาการน่าหวาดเสียว แต่ชาวบ้านก็ใช้สะพานนี้อยู่เป็นประจำ มีการซ่อมแซมบ้างเป็นครั้งคราวตามสภาพ เคยมีโครงการรื้อถอนเพื่อสร้างสะพานคอนกรีตจากทางจังหวัด เพื่อใช้เป็นเส้นทางสัญจรที่แข็งแรง และวางท่อประปาไปตามแนวสะพาน แต่ชาวบ้านอยากให้อนุรักษ์สะพานนี้ไว้ตามเดิม ตอนนี้มีคนรู้จักสะพานนี้กันมากขึ้นกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของมหาสารคาม ก็คงจะต้องคงสภาพสะพานไม้นี้ไว้ต่อไป

การเดินทางไปสะพานไม้แกดำ
สะพานไม้แห่งนี้เพิ่งเป็นที่รู้จักได้ไม่นาน แน่นอนว่าต้องมีสื่อท่องเที่ยวมากมายเดินทางไปเก็บภาพ ก็ลองค้นหาว่าจะมีรายละเอียดการเดินทางหรือเปล่า ปรากฏว่าหายากมาก พอเราไปมาแล้วก็เลยอยากเขียนให้มันชัดๆ เจาะลงไปเลย คนอื่นๆ จะได้ไปได้ง่ายขึ้น



สะพานไม้แกดำ อยู่ด้านหลังวัดดาวดึงษ์แกดำ เวลาค้นใน Google Maps เจอแต่วัดดาวดึง แต่ก็คือที่เดียวกัน ในอำเภอแกดำ




เป็นงัยบ้างค่ะ น่าเที่ยวใช่ไหมล้า  แต่ขอบอกไว้ก่อนว่าแต่ละที่ที่ไปไกลกันมาก 5-10 กิโลเมตร เลยทีเดียว  ใครมีรถส่วนตัวก็ดีหน่อยไปง่ายมาง่าย  สำหรับวันนี้ก็ขอลาไปนอนก่อนนะคร้า  แล้วพบกันใหม่  
ราตรีสวัสคร้า






















































































2 ความคิดเห็น: